5 ขั้นตอน ในการ ดูแลผู้สูงอายุ ที่บ้าน อย่างมืออาชีพ เป็น การเรียนรู้ 5 ขั้นตอนสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านอย่างมืออาชีพ พร้อมคำแนะนำสำหรับผู้ที่กำลังมองหาบริการรับดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน เพื่อความสุขและคุณภาพชีวิตของคนที่คุณรัก
5 ขั้นตอน ในการ ดูแลผู้สูงอายุ ที่บ้าน อย่างมืออาชีพ
เขียนโดย ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย
เป็นเรื่องจริง ที่ว่า จำนวนผู้สูงอายุ มีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นเพราะ สังคมรุ่นใหม่ ไม่ต้องการมีลูก ทำให้อัตราการเกิดของเด็กน้อยลง และเป็นเรื่องที่น่ากังวลอย่างยิ่ง อีกไม่นาน สังคมไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุเต็มตัว จำนวนประชากรผู้สูงอายุ ในประเทศไทยจะมีอัตราส่วน 1 ใน 5 ของประชากรทั้งประเทศ หรือ ประมาณ 13-14 ล้านคน
การมีผู้สูงอายุจำนวนมาก ไม่ใช่เรื่องร้ายแรง แต่สถาบันครอบครัวต้องใส่ใจในรายละเอียดเรื่องการดูแล การให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุ ให้สามารถอยู่ภายในบ้านได้อย่างมีความสุข โดยเฉพาะเรื่องของความเป็นอยู่ ที่ต้องใช้ชิวิตในประจำวัน เช่น การอาบน้ำ การเตรียมอาหาร รวมถึงกิจกรรมต่างๆ การจัดการยาและการฉีดยา การวัดอุณหภูมิร่างกาย การวัดความดัน
ซึ่งหน้าที่เหล่านี้เป็นหน้าที่ของลูกหลานที่ต้องใส่ใจดูแลเป็นพิเศษ หรือ อาจต้องจ้าง ผู้ดูแลผู้สูงอายุ มาดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน โดยการดูแลผู้สูงอายุ ที่บ้าน ก็มีเป้าหมายที่จะให้ ผู้สูงอายุมีความสุข ทั้งจิตใจและร่างกายให้มากที่สุด
ควรเริ่มต้นดูแลผู้สูงอายุที่บ้านเมื่อไหร่?
จังหวะและระยะการดูแล ผู้สูงอายุ เป็นเรื่องสำคัญ เพราะบางคน เริ่มต้นการดูแลผู้สูงอายุช้าไป ทำให้ ผู้สูงอายุเข้าสู่สภาวะถดถอย อาการทรุด แต่บางคนเริ่มต้นดูแลเร็วเกินไป และทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่ากำลังถูกดูแล อาจเป็นต้นเหตุในการบั่นทอนขวัญ กำลังใจของผู้สูงอายุ ที่ทำให้รู้สึกว่าตนเข้าสู่วัยชราเต็มตัว หรือ รู้สึกว่าตนเองกำลังเป็นภาระกับลูกหลาน
ข้อสังเกตที่ดีในการเริ่มต้น ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ควรเริ่มต้นตั้งแต่มีสัญญาณแรกของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจ ที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุที่บ้าน ดังนั้น การเตรียมความพร้อม ในผู้สูงอายุล่วงหน้าด้วยการให้ความใส่ใจในทุกด้าน จะช่วยให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ปลอดภัย และมีคุณค่า ในทุกวันของวัยเกษียณ
การเริ่มต้นดูแลผู้สูงอายุที่บ้านไม่จำเป็นต้องรอจนเกิดปัญหาสุขภาพรุนแรง หรือ หกล้ม ในความเป็นจริง ควรเริ่มตั้งแต่เมื่อเริ่มสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ เช่น
- การมอง การฟัง ที่ถดถอยลง
- ความจำเริ่มถดถอย พูดไม่ชัด ผิวหนังแห้ง เป็นสะเก็ด
- การเดิน ด้วยการเคลื่อนไหวไม่คล่องตัวเหมือนเดิม
- พฤติกรรมเปลี่ยนไป เช่น เงียบลง หรือ ซึมเศร้า หรือ เรื่องบางเรื่องที่ตลก แต่ ผู้สูงอายุนิ่งเฉย
- ภาวะหลงลืม เช่นการลืมทานอาหาร เพราะคิดว่าทานแล้ว
กระทู้ ถาม-ตอบเรื่องการดูแลผู้สูงอายุ – สมัครฟรี!
พื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับ การดูแลผู้สูงอายุ ทั้งในด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต พัฒนาการด้านต่างๆ การดูแลผู้ป่วยพักฟื้นที่บ้าน การดูแล ผู้สูงอายุ หรือ ผู้ป่วยพักฟื้น โดย ทุกท่าน สามารถ ลงทะเบียน เป็นสมาชิกฟรี..
ห้องสุขใจ
การดูแล ให้ ผู้สูงอายุ แข็งแรงเสมอ เคล็ดลับ ที่ใช้
ห้องมือใหม่
สำหรับ มือใหม่ ที่ ดูแล ผู้สูงอายุ ว่าต้องทำอะไรก่อน
ห้องอิ่มใจ
ห้อง แชร์เมนูมีประโยชน์ เพื่อดูแลผู้สูงอายุ
ห้องของใช้
แชร์ ความรู้ อุปกรณ์ต่าง ๆ ในการ ดูแลผู้สูงอายุ
ห้องถามผู้รู้
ถาม ผู้เชี่ยวชาญ หรือ ผู้มีประสบการณ์โดยตรง
เมื่อลูกหลานหรือเครือญาติ ได้รับสัญญาณข้างต้นที่แสดงออกจากผู้สูงอายุ ไม่ว่าสัญญาณที่ได้รับมาจะมากหรือน้อยก็ตาม ไม่ควรนิ่งเฉยหรือปล่อยทิ้งไว้นานเกินไป เพราะสุขภาพของผู้สูงอายุหลังจากนี้จะอยู่ในสภาพ ทรง กับ ทรุด จะช้าหรือเร็วขึ้นกับการดูแลผู้สูงอายุ ในช่วงเวลานี้
การดูแลผู้สูงอายุ จึงมีเป้าหมายที่จะให้ ผู้สูงอายุ อยู่ได้นานมากที่สุดและใช้ชีวิตบั้นปลายอย่างมีความสุขกับลูกหลานในทุกวัน สิ่งที่ ลูกหลานทุกคนต้องพร้อมใจกัน คือทำความเข้าใจ 5 ขั้นตอน ในการดูแลผู้สูงอายุ ที่บ้าน ซึ่งทำได้ง่าย ๆ ดังนี้
1.วางแผน การดูแลผู้สูงอายุ:
การวางแผนเป็นหัวใจสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน หรือ จะใช้บริการ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุก็ตาม เพราะการวางแผนดูแล ต้องมีแผนการดูแลผู้สูงอายุ ในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งการวางแผนการดูแลผู้สูงอายุ จะทำให้ไม่พลาดสิ่งสำคัญที่ต้องทำที่สำคัญต่อผู้สูงอายุทุกวัน เช่นการติดตามความคืบหน้าในเรื่องของสุขภาพของผู้สูงอายุ หรือแม้แต่การไปพบแพทย์ตามตารางการนัดหมาย การทานยาตามกำหนดการ
การวางแผนการดูแลผู้สูงอายุที่ดี จำเป็นต้องมีแผนสำรองตลอดเวลา เพราะบางครั้งอาจเกิดเรื่องเร่งด่วนที่ไม่คาดคิดมาก่อน เช่น การล้มลงของผู้อายุที่บ้าน อากาศเปลี่ยนทำให้เจ็บป่วยง่าย เนื่องจากภูมิคุ้มกันของผู้สุงอายุลดน้อยลง ภาวะเครียดที่เกิดขึ้นแบบไม่มีสาเหตุ ทำให้เหตุการณ์เช่นนี้อาจเกิดขึ้นได้ ทำให้แผนหลักในการดูแลผู้สูงอายุ โดยเฉพาะ ผู้ป่วยติดเตียง ต้องมีการเปลี่ยนแปลงทันที ตามสภาพหน้างานที่เกิดขึ้น
ข้อดีของการวางแผนการ ดูแลผู้สูงอายุ ที่บ้าน จะช่วยให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุสามารถคาดการณ์สถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นล่วงหน้าโดยไม่ได้คาดการณ์มาก่อน เพื่อหางป้องกันได้ทันที การวางแผนตั้งแต่เริ่มต้น จะช่วยให้ทุกคนตอบสนองเพื่อหาทางแก้ไขให้สถานการณ์ได้เร็วขึ้นและการแก้ปัญหาก็จะมีประสิทธิภาพเช่นกัน เพราะทุกคนมีสติที่ดีพอในการควบคุมสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
แต่อย่างไรก็ตาม แผนการดูแลผู้สูงอายุ ก็มีข้อพึงระวังที่สำคัญ คือการทำงานคนเดียว ดูแลคนเดียว จึงต้องเตือนตัวเองว่า อย่าทำทุกอย่างคนเดียว พยายามให้ลูกหลายทุกคนรับรู้สถานการณ์ไปพร้อม ๆ กัน หรือแม้แต่เพื่อน สนิทหรือญาติ ๆ ถ้าร่วมรับรู้ด้วยก็จะช่วยกันคิดช่วยกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้
แผนงานการดูแลผู้สูงอายุ ควรมีการเขียนบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ส่งให้ทุกคนได้อ่าน ทำให้ทุกคนในครอบครัว เข้าใจสถานการณ์ไปในทางเดียวกัน ช่วยให้ทุกคนมีการสื่อสารและมีความคิดเห็นไปในทางเดียวกัน หลีกเลี่ยงความเข้าใจผิดได้ ทำให้เกิดข้อขัดแย้ง และที่สำคัญจะมีความรวดเร็ว เมื่อต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้า หรือถ้าต้องการปรับแผนงานในการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ก็ทำได้ทันที แผนงานดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ควรอัปเดต ทุกช่วงเวลาอย่างสม่ำเสมอ
2 ปรับเปลี่ยนสภาพความเป็นอยู่ ภายในบ้านให้ปลอดภัยขึ้น
เรื่องสำคัญมากในการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน คือ การล้ม ซึ่งหลายครั้งไม่น่าเกิดแต่ก็เกิดขึ้นได้ เพราะสภาพแวดล้อมของบ้านไม่เหมาะสมต่อการดูแลผู้สูงอายุ ใครก็ตามที่มีหน้าที่เป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า สถานการณ์ความเป็นอยู่ที่บ้านในตอนนี้ ไม่เหมือนเดิม จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงไป เพราะ หากบ้านใดก็ตามมีผู้สูงอายุ จำเป็นต้องมีการออกแบบสภาพแวดล้อมของบ้านให้เหมาะสมกับความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุเพื่อลดอันตรายให้น้อยลง
การปรับเปลี่ยนสภาพความเป็นอยู่ ทางที่ดีควรปรึกษาผู้รู้ หรือผู้เชี่ยวชาญ เพราะลดความผิดพลาดที่เกิดขึ้นทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น เช่น การปรึกษานักกายภาพบำบัด หรือผู้ทำหน้าที่ดูแล ผู้สูงอายุที่บ้านมานานพอสมควร ก็จะมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมภายในบ้านที่ไม่เหมาะสม นำคำแนะนำที่ได้รับ มาประเมินบ้านเพื่อวางแผนการปรับสภาพแวดล้อมในบ้าน โดยเน้นเรื่องความปลอดภัยของผู้สูงอายุให้มากที่สุด
เช่น การป้องการการหกล้มของผู้สูงอายุที่บ้าน โดยไม่ไม่จำเป็นต้องรีโนเวตบ้านใหม่ เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น สามารถทำได้ง่ายๆ คือการกำจัดสิ่งกีดขวาง ที่อาจเป็นอันตรายทำให้สะดุดหกล้มได้
การดูแลความลื่นของพื้นกระเบื้อง การหักงอหรือพับของพรม หรือการตรวจสอบแสงสว่างภายในบ้านมีเพียงพอหรือไม่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำได้ทันทีและทำได้ไม่ยากแต่เป้นเรื่องจำเป็น หรือการติดตั้งอุปกรณ์จับยึดต่างๆ เช่น ราวจับในห้องน้ำหรือที่นั่งอาบน้ำแบบปรับได้ หรือแม้แต่ทำทางลาดสำหรับรถเข็น การขยายประตูให้กว้างขึ้น เป็นต้น
3 การบริหารจัดการด้านการดูแลสุขภาพ ผู้สูงอายุ
เป็นเรื่องธรรมชาติที่ผู้สูงอายุจะมีโรคต่าง ๆ ตามมา การรับรู้ได้ถึงโรคต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ดี เพราะ ลูกหลานจะได้หาทางในการป้องกันแต่เนิ่นๆ ซึ่งลูกหลาน หรือผู้ดูแลผู้สูงอายุมีหน้าที่ในการทำภารกิจทางการแพทย์พื้นฐานบางอย่างที่ทำได้ รวมถึงการติดตามอาการ การเก็บข้อมูลทางการแพทย์ เช่นความดัน อุณหภูมิ หรือการใช้ยา ชนิดต่าง ๆ ให้ตรงกับที่หมอสั่งยาให้ ดังนั้น ลูกหลานหรือ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ต้องมีการจัดระเบียบการทำงานในเรื่องนี้มาก เพราะ ถ้าผู้สูงอายุไม่ได้รับยาตามที่หมอสั่ง อาจส่งผลเสียที่ตามมา
วิธีการง่าย ๆ ที่มักนำมาใช้คือการจัดตารางบัญชียาขึ้น ที่รวมไปถึงการให้ยา แต่ละชนิด ปริมาณเท่าไหร่ และให้ในช่วงเวลาไหน เพื่อป้องกันความสับสน ที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ดูแลผู้สูงอายุ และเมื่อเวลาผ่านไป ก็ต้องมีการอัปเดตยา ปริมาณการให้ยา ชื่อแพทย์ผู้ดูแล เอกสารที่สะดวกในการนำไปในวันนัดพบแพทย์ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
4.การใช้ชีวิตประจำวันให้เหมือนเป็นปกติ
ต้องอยู่ร่วมบ้านกับผู้สูงอายุ หรือ คุณมีผู้สูงอายุที่บ้าน หลายคนอาจรู้สึกว่าการดูแลผู้สูงอายุกลายเป็นภาระ เป็นเรื่องที่ลูกหลายทุกคนต้องทุ่มเท บทบาททั้งหมดเหล่านี้มีความสำคัญในการรักษาสุขภาพจิตและสุขภาพกายของผู้สูงอายเป็นอย่างมาก เพราะผู้สูงอายุจำนวนมากรับรู้ได้ว่าตนเองเป็นภาระให้กับลูกหลาน
แต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะความสูงอายุของตนเอง ดังนั้นสิ่งที่ลูกหลานหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุที่บ้านพึงกระทำ คือให้ความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุเป็นเช่นเคยที่เป็น
โดยให้มีตอบสนองความต้องการทางสังคม การทานข้าวร่วมกัน เพราะขอให้เข้าใจว่า เมื่อไรก็ตามที่ปล่อยให้ผู้สูงอายุมีความโดดเดี่ยว มีความเหงา จะส่งผลถึง สุขภาพที่แย่ลงทั้งจิตใจและกายภาพ ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ที่มีประสบบการณ์มักจะใช้วิธีการชวนผู้สูงอายุพูดคุยเรื่องต่างๆ รอบ ๆ ตัว รวมถึงรำลึกเรื่องในอดีตเช่นกัน
หรือ ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่บ้านใช้วิธีการ จัดโปรแกรมชุมชนสัมพันธ์ เช่น การร้องเพลงร่วมกัน การเต้นรำ การทำอาหาร หรือ การออกไปทานอาหารนอกบ้านด้วยกัน โดยมีการจัดการโภชนาการ ตระหนักถึงข้อจำกัดด้านอาหาร วิธีการพาผู้สูงอายุไปทานอาหารนอกบ้าน พบว่า ทำให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหารได้เพิ่มมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการทานอาหารภายในบ้าน
แต่อย่างไรก็ตาม ความต้องการของ ผู้สูงอายุ มีความแตกต่างกันไป ต้องออกแบบให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุแต่ละคน ซึ่งลูกหลาน หรือ ผู้สูงอายุ สามารถข้าไปอ่านในกระทู้ แบบฟรี ๆ เกี่ยวกับเรื่อง โภชนการสำหรับผู้สูงอายุ หรือ กระทู้สอบถามผู้รู้ เกี่ยวกับการใช้ชีวิตประจำวัน ก็ทำให้เช่นกัน
5.หาที่ปรึกษาที่ดี เพื่อขอคำแนะนำหรือขอความช่วยเหลือ
ปัญหาหลัก ๆ ที่ทำให้ผู้สูงอายุทรุดลง เพราะความไม่รู้ของลูกหลาน บางคนใช้วิธีการลองผิดลองถูก ซึ่งอาจส่งผลเสียที่มากกว่า เพราะความเข้าใจผิด การหาที่ปรึกษาจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องมีเพื่อความมั่นใจในการแบ่งปันข้อมูล ในทุกเรื่อง เพื่อป้องกันการรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือลองผิดลองถูกนั่นเอง
การขอคำปรึกษาอาจจะขอความช่วยเหลือจากเพื่อนและสมาชิกในครอบครัวที่มีประสบการณ์ ที่ยินดีหรืออย่างน้อยก็เต็มใจที่จะช่วยเหลือ เพียงขอลูกหลานต้องเปิดใจที่จะพูดคุย กันอย่างจริงใจ
หรืออีกวิธีหนึ่งคือการจ้าง ผู้ดูแลผู้สูงอายุตามบ้าน ซึ่งผู้ดูแลนี้ จะได้รับการเรียนรู้ ก่อนที่จะมาปฏิบัติงาน และมีประสบการณ์มานานพอสมควร จึงทำให้ช่วยแก้ปัญหาได้ในระดับหนึ่ง หรือถ้ามีปัญหาที่มากขึ้น
ผู้ดูแลผู้สูงอายุตามบ้าน ก็จะมีเครือข่ายที่จะให้คำแนะนำได้ตามที่ลูกหลานต้องการ แต่อย่างไรก็ตาม การมีความรู้ด้วยตนเองเป็นเรื่องสำคัญ ไม่แพ้การมีเครือข่ายที่เข้มแข็ง จะทำให้ การดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น ลดแรงกดดันลงไปมาก และที่สำคัญคือการ ลดความเครียด ได้เป็นอย่างดี
การดูแลผู้สูงอายุที่บ้านสำคัญพอๆ กับการดูแลสุขภาพจิตของลูกหลาน ในฐานะผู้ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน เพราะตัวเรามีความเสี่ยงสูง ที่เป็นผลตามมา ทั้งโดยตรงและข้างเคียง เช่น การเกิดความเครียดและภาวะซึมเศร้า ของผู้ดูแลผู้สูงอายุ ที่เป็นลูกหลาน
ดังนั้น ลูกหลานที่มีหน้าที่ดูแล ต้องสร้างสมดุลในตัวเองจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อให้ภาระกิจการดูแลผู้สูงอายุผ่านไปด้วยดี ทุกฝ่ายมีความสุข ทั้งลูกหลานและผู้สูงอายุ ถือว่าบรรลุเป้าหมายด้วยกัน เป็นกำลังใจให้ทุกคนนะครับ
บทความ ดูแลผู้สูงอายุ น่าอ่าน
150 คำพูด ให้กำลังใจ ผู้สูงวัย ให้ใจฟู
คำพูด ให้กำลังใจ ผู้สูงวัย ให้ใจฟู เป็น การใช้ถ้อยคำที่เปี่ยมด้วยความรัก ความห่วงใย และความเข้าใจ เพื่อสร้างพลังใจให้กับผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นช่วงที่รู้สึกเหนื่อยล้า เศร้า หรือเวลาที่ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและจิตใจ...
ดูแลด้วยใจ ไม่ใช่แค่หน้าที่: จรรยาบรรณ แห่งวิชาชีพ บริบาลผู้สูงวัย
จรรยาบรรณ แห่งวิชาชีพ บริบาลผู้สูงวัย เป็น จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพบริบาลผู้สูงวัย ตามหลักจริยธรรมและแนวทางปฏิบัติที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการดูแลผู้สูงอายุควรยึดถือ เพื่อให้บริการอย่างมีคุณภาพและเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้สูงวัย...
วันที่เหนื่อยใจ กับ ใจที่ยังสู้ : 15 วิธีดูแลใจ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ
วันที่เหนื่อยใจ กับ ใจที่ยังสู้ : 15 วิธีดูแลใจ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ เป็น วิธีการบริหารจิตใจ ของ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ให้พร้อมทั้งจิตใจและร่างกาย เพื่อความมั่นใจในการ ดูแล ที่สร้างความพอใจให้กับผู้สูงอายุ ในทุกช่วงเวลาของการดูแลวันที่เหนื่อยใจ กับ ใจที่ยังสู้ : 15...
15 สัญญาณอันตราย ของสุขภาพผู้สูงอายุ ที่ไม่ควรมองข้าม
15 สัญญาณอันตราย ของสุขภาพผู้สูงอายุ ที่ไม่ควรมองข้าม เป็น การสังเกต ผู้สูงอายุ ที่มีการเปลี่ยนแปลง ทางร่างกายและจิตใจ เพื่อป้องกันเหตุร้ายไว้ก่อน เป็นวิธีที่ ทำให้ ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน (Caregiver) และ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ นำมาใช้15 สัญญาณอันตราย ของสุขภาพผู้สูงอายุ...
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆให้ความรู้ความเข้าใจในขั้นตอนการสังเกตุและดูแลผู้สูงอายุค่ะ
ยินดีครับ ติดตามนะครับ ยังมี บทความ การ ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน อีกมากนะครับ
ติดตามต่อค่ะ จะได้มีแนวทางในการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน เข้าใจผู้ดูแลเยอะขึ้นเลยค่ะ ทางบ้านกำลังมองหาคนดูแลค่ะ