จรรยาบรรณ แห่งวิชาชีพ บริบาลผู้สูงวัย เป็น จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพบริบาลผู้สูงวัย ตามหลักจริยธรรมและแนวทางปฏิบัติที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการดูแลผู้สูงอายุควรยึดถือ เพื่อให้บริการอย่างมีคุณภาพและเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้สูงวัย จรรยาบรรณนี้ไม่เพียงเน้นเรื่องทักษะการดูแล แต่ยังรวมถึงความเมตตา ความซื่อสัตย์ และการให้เกียรติผู้รับบริการในทุกมิติของชีวิต

ดูแลด้วยใจ ไม่ใช่แค่หน้าที่: จรรยาบรรณ แห่งวิชาชีพ บริบาลผู้สูงวัย

เขียนโดย ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย

เป็นที่ยอมรับกันดีว่าสังคมกำลังเข้าสู่ยุคผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ คนสูงอายุจะเพิ่มขึ้น เด็กเกิดน้อยลง การดูแลผู้สูงอายุจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ทุกคน จะต้องให้ความสนใจอย่างจริงจัง

การปรับตัวของผู้สูงอายุ เป็นอีกเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจเช่นกัน เพราะ ผู้สูงอายุหลายคนอาจจะเคยประสบความสำเร็จมาในอดีต มีคนรู้จักมากมาย มีบริวารจำนวนมาก

แต่เมื่อเข้าสู่การเป็นผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ บริวารหายไปหมด การดูแลจึงเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ว่าจะใช้ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้บริบาลผู้สูงอายุ หรือ การใช้บริการ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ หรือ การใช้ บริการรถรับส่งผู้สูงอายุ ก็ตาม เพราะเมื่อวันเวลาผ่านไป ผู้สูงอายุ หนีสภาพของความเป็นจริงไม่ได้ ผู้สูงอายุบางคนอาจอยู่ในสภาพที่ดูแลตัวเองไม่ได้ หรือบางคนกึ่งดูแลตัวเองไม่ได้ จำเป็นต้องมีผู้บริบาลผู้สูงอายุ หรือ ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่บ้านนั่นเอง หรือแม้แต่บางคนก็ต้องนอนพักในโรงพยาบาล ก็ต้องการการดูแลผู้ป่วยพักฟื้นที่โรงพยาบาลเช่นกัน

การมีผู้ ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว ที่บ้าน ยังเป็นเรื่องที่น่ากังวลใจของคนในหลายครอบครัว ต้องการให้มีคนมาช่วยดูแลก็จริง แต่ก็กังวลใจในการดูแล ตามข่าว ที่แพร่หลาย เช่น ผู้บริบาลผู้สูงอายุ ไม่สนใจผู้สูงอายุ ให้บริการที่ไม่ดีพอ ไม่ใส่ใจในผู้สูงอายุ ทั้งๆ ที่ ผู้บริบาลผู้สูงอายุเหล่านี้ มีหน้าที่ในการดูแลผู้สูง อายุ หรือ

ผู้บริบางบางคน อาจมีพฤติกรรมที่เลวร้ายไปกว่านั้น ทำให้สังคม หรือ ลูกหลานรับไม่ได้ เช่น การมีพฤติกรรมก้าวร้าว การพูดจาเสียดสีผู้สูงอายุ การไม่ดูแล ปล่อยให้ผู้สูงอายุอยู่คนเดียว และบ่อยครั้งก็เกิดอุบัติเหตุได้ ที่เลวร้ายไปกว่านั้น คือการที่ดูแลผู้สูงอายุทำร้ายผู้สูงอายุ ที่ตนเองดูแล ปฏิบัติตนที่ไม่มีจรรญาบรรณวิชาชีพของการดูแลผู้สูงอายุ

ความกังวลใจเช่นนี้ ทำให้หลายครอบครัว ติดกล้องวงจรปิด เพื่อมาตรวจเช็คการทำงาน ตามขั้นตอนการดูแลผู้สูงอายุ หรือไม่ ของนักบริบาลผู้สูงวัย อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

จึงเป็นเรื่องจำเป็น ที่จะต้องจัดทำ จรรยาบรรณของ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ หรือ จรรยาบรรณของ ผู้บริบาลผู้สูงอายุ สำหรับคนที่ทำอาชีพนี้ เพราะจรรญาบรรณเป็นที่จะให้ผู้บริบาลผู้สูงอายุ เป็นแนวทางในการนำไปปฏิบัติงาน เพื่อสร้างความพอใจให้กับลูกหลาน หรือ ตัวผู้สูงอายุ นั่นเอง

จรรยาบรรณ แห่งวิชาชีพบริบาลผู้สูงวัย คืออะไร

จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพบริบาลผู้สูงวัย คือ หลักจริยธรรมและแนวทางปฏิบัติที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการดูแลผู้สูงอายุควรยึดถือ ไม่ว่าจะเป็น ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ หรือ ผู้ดูแลผู้สูงอายุก็ตาม เพื่อให้บริการอย่างมีคุณภาพและเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้สูงวัย จรรยาบรรณผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เป็นสากล นี้ไม่เพียงเน้นเรื่องทักษะการดูแล แต่ยังรวมถึงความเมตตา ความซื่อสัตย์ และการให้เกียรติผู้รับบริการในทุกมิติของชีวิต

วิชาชีพบริบาลผู้สูงวัยเป็นงานที่ต้องใช้ทั้งหัวใจและความรู้ การมีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพบริบาลผู้สูงวัยช่วยให้ผู้ดูแลมีแนวทางในการตัดสินใจที่ถูกต้อง เช่น การรักษาความลับของผู้สูงอายุ การปฏิบัติอย่างเท่าเทียม และการให้บริการโดยปราศจากอคติ นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้เกิดความไว้วางใจระหว่างผู้ดูแลกับครอบครัวของผู้สูงวัย

ในยุคที่สังคมไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพบริบาลผู้สูงวัยจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนในสายงานนี้ต้องเรียนรู้และยึดมั่น เพื่อพัฒนามาตรฐานการดูแลให้ดียิ่งขึ้น และสร้างสังคมที่พร้อมดูแลผู้สูงวัยอย่างมีคุณภาพและศักดิ์ศรี

ทำไม จรรยาบรรณ แห่งวิชาชีพบริบาลผู้สูงวัย จึงสำคัญ

การดูแลผู้สูงอายุเป็นภารกิจที่ต้องอาศัยทั้งทักษะ ความรู้ และที่สำคัญที่สุดคือหัวใจของผู้ให้บริการ ความผิดพลาดต่าง ๆ อาจเกิดจากการเหนื่อยล้า ความเข้าใจผิด อารมณ์ ณ.ขณะดูแลผู้สูงอายุ จรรยาบรรณจึงเป็นเครื่องเตือนใจ เป็นข้อพึงระวัง ไม่ให้ตนเองหลุดจากกรอบจรรญาบรรณ ในการดูแลผู้สูงอายุ

ในการทำงานของนักบริบาลผู้สูงอายุไม่เพียงแต่ทำหน้าที่ทางกายภาพ เช่นการพยุงตัวผู้สูงอายุ ดูแลความสะอาดของผู้สูงอายุเท่านั้น ต้องหมั่น สังเกตอาการผู้สูงอายุ ว่ามีการเปลี่ยนแปลงเช่นไร

และยังเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความรู้สึก ทำให้เกิดความปลอดภัย อบอุ่นใจ และการมีคุณค่าในชีวิตของผู้สูงอายุอีกด้วย

หนึ่งในหัวใจหลักของ “จรรยาบรรณวิชาชีพบริบาล” และ “จรรยาบรรณการดูแลผู้สูงอายุ” ที่นำมาใช้เป็น แนวทางจริยะธรรมดูแลผู้สูงอายุ คือ การปฏิบัติต่อผู้สูงอายุด้วยความเมตตาและความเคารพในทุกสถานการณ์

💙จรรยาบรรณ…ไม่ใช่ข้อบังคับ

แต่คือ..มือของใจ ที่พร้อมดูแล 💙

จรรญาบรรณ ผู้บริบาล-ผู้สูงอายุ โดย ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย

🙏 การดูแลผู้สูงวัย ไม่ใช่แค่หน้าที่ แต่คือเกียรติยศของหัวใจ


💙 จรรยาบรรณวิชาชีพบริบาลผู้สูงวัย คือเข็มทิศนำทางในการทำงานอย่างมีจริยธรรม เป็นเครื่องเตือนใจให้เราดูแลด้วยความรัก ความเคารพ และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ทุกคำพูด ทุกสัมผัส ทุกการกระทำของคุณ ล้วนส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและความสุขของผู้สูงวัย

อย่าลืมว่า…คุณคือความหวังและแรงใจของใครบางคนในทุกวัน
เมื่อคุณเคารพในจรรยาบรรณ คุณไม่ได้ทำเพียงงาน แต่คุณกำลังสร้างคุณค่าชีวิตให้กับผู้สูงวัย และยกระดับวิชาชีพของคุณเองให้เป็นที่น่าเชื่อถือและภาคภูมิใจ

เพราะการดูแลที่แท้จริง เริ่มต้นจากใจที่มีจรรยาบรรณ
ให้จรรยาบรรณเป็นแรงบันดาลใจ และเป็นคำมั่นในใจคุณเสมอ

www.ElderlyCarePlus.com

 

หัวใจในการพัฒนาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพบริบาลผู้สูงวัย

ทุกคนที่ทำอาชีพบริบาลผู้สูงอายุ มีหัวใจการให้บริการแก่ผู้สูงอายุ มีเทคนิคการ ให้กำลังใจตนเองของผู้บริบาลผู้สูงอายุ ปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี แต่ยังมีผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวนไม่น้อย ที่ไม่เข้าใจ และให้การดูแลผู้สูงอายุที่ไม่ดีพอ สาเหตุเพราะไม่เข้าใจหัวใจของจรรญาบรรณการดูแลผู้สูงอายุ ที่เป็นแก่นแท้ของวิชาชีพ

จุดเริ่มต้นของการพัฒนา จรรยาบรรณผู้ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน” เริ่มต้นจากการมีจิตใจที่มีความเมตตาและความเคารพในศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุอย่างสม่ำเสมอ

การแสดงออกด้วยความเมตตาและความเคารพในศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุอย่างสม่ำเสมอ เป็นการแสดงออก ถึงความเห็นอกเห็นใจ ความใส่ใจในทุกอิริยาบท เช่น ความรู้สึก การกระทำ

ทำไม “ความเมตตา” จึงเป็นหลักสำคัญของจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพบริบาลผู้สูงวัย

ความเมตตาเป็นเรื่องของจิตใจ ซึ่งเป็นการแสดงออกที่มากกว่าความอ่อนโยนในการดูแลผู้สูงอายุ ความอ่อนโยนอาจเกิดจากหน้าที่ แต่ความเมตตาเป็นผลของจิตใจผู้ดูแลผู้สูงวัยนั้นที่มีต่อการดูแลผู้สูงอายุ การมีเมตตาจะทำให้ การดูแลที่เข้าใจผู้สูงอายุมากขึ้นเช่นในเรื่องของความเปราะบางของอารมณ์ จิตใจของผู้สูงอายุ ทำให้การฟังเกิดการฟังด้วยใจ การให้การดูแลที่เต็มไปด้วยความปรารถนาดีต่อผู้สูงอายุอย่างแท้จริง

การให้ความเคารพผู้สูงอายุ เป็นพื้นฐานของจรรยาบรรณการดูแลผู้สูงอายุ

การเคารพในศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุ เป็น ไม่ล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลที่ทุกคนพึงมี เคารพต่อสิทธิความเป็นมนุษย์ที่เท่าทียมกัน พึงได้รับการดูแลอย่างถูกหลักของความเป็นมนุษย์ เช่นคนทุกคน ซึ่งการเคารพในศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุ ไม่เพียงแต่การให้การดูแลทางด้านร่างกายเท่านั้น แต่รวมถึงการเคารพในความคิด ความเชื่อ และวิถีชีวิตของผู้สูงอายุแต่ละราย ตัวอย่างที่ทุกคนเข้าใจง่าย ๆ เช่น การใช้สรรพนามหรือคำเรียกที่ผู้สูงอายุรู้สึกสบายใจ การไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวโดยไม่ได้รับอนุญาต และการให้เกียรติในการตัดสินใจของผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือใหญ่ ก็ตาม

ข้อดีของการมีความเมตตาและการให้ความเคารพผู้สูงอายุ ยังช่วยสร้างความไว้วางใจระหว่าง ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน กับผู้สูงอายุ เป็นการลดช่อง ว่างได้เป็นอย่างดี ทำให้การดูแลผู้สูงอายุ ไม่น่ากังวลมากนัก เพราะจะทำให้เรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้น เป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างพฤติกรรมที่สะท้อนความเมตตาและความเคารพในศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุ

  • ทักทายผู้สูงอายุ ด้วยรอยยิ้มและน้ำเสียงสุภาพ
  • เรียกชื่อผู้สูงอายุ ด้วยความเหมาะสมตามที่ผู้สูงอายุต้องการ
  • รับฟังความรู้สึก และ ความคิดเห็นของผู้สูงอายุอย่างตั้งใจ
  • อดทนกับพฤติกรรม ที่เกิดจากภาวะความเสื่อมถอยของร่างกายหรือจิตใจ
  • ไม่พูดจาดูหมิ่น หยาบคาย หรือแสดงท่าทีไม่เหมาะสม
  • ละเว้นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม อื่น ๆ

กระทู้ ถาม-ตอบเรื่องการดูแลผู้สูงอายุ – สมัครฟรี!

พื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับ การดูแลผู้สูงอายุ ทั้งในด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต พัฒนาการด้านต่างๆ การดูแลผู้ป่วยพักฟื้นที่บ้าน การดูแล ผู้สูงอายุ หรือ ผู้ป่วยพักฟื้น โดย ทุกท่าน สามารถ ลงทะเบียน เป็นสมาชิกฟรี..

ห้องสุขใจ

 การดูแล ให้ ผู้สูงอายุ แข็งแรงเสมอ เคล็ดลับ ที่ใช้

ห้องมือใหม่

สำหรับ  มือใหม่ ที่ ดูแล ผู้สูงอายุ ว่าต้องทำอะไรก่อน

ห้องอิ่มใจ

ห้อง แชร์เมนูมีประโยชน์ เพื่อดูแลผู้สูงอายุ

ห้องของใช้

แชร์ ความรู้ อุปกรณ์ต่าง ๆ ในการ ดูแลผู้สูงอายุ

ห้องถามผู้รู้

ถาม ผู้เชี่ยวชาญ หรือ ผู้มีประสบการณ์โดยตรง

หลักคิดของการพัฒนาจรรญาบรรณการดูแลผู้สูงอายุ

หลักคิดที่เป็นแนวทางสำคัญของการพัฒนา จรรยาบรรณการดูแลผู้สูงอายุ ให้ทุกผู้ดูแลควรยึดถือ ซึ่งหัวใจหลักของจรรยาบรรณวิชาชีพบริบาลผู้สูงอายุสามารถสรุปได้ดังนี้

1.หลักความซื่อสัตย์:

ผู้ดูแลผู้สูงอายุหรือผู้บริบาลผู้สูงอายุ ต้องมีการรายงานข้อมูลที่เป็นจริง ไม่บิดเบือน ไม่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนจากผู้สูงอายุหรือครอบครัว

2.หลักความรับผิดชอบ:

ผู้ดูแลผู้สูงอายุหรือผู้บริบาลผู้สูงอายุ ปฏิบัติงานด้วยความใส่ใจ ไม่ละเลยหน้าที่ และพร้อมรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ของการดูแล มีการทำงานที่ตรงต่อเวลา

3.หลักการให้บริการอย่างมืออาชีพ:

ผู้ดูแลผู้สูงอายุหรือผู้บริบาลผู้สูงอายุ แต่งกายเรียบร้อย รักษามารยาท และมีทัศนคติที่ดีในการทำงาน

4.หลักการเคารพผู้รับบริการ ที่เป็นผู้สูงอายุ:

ผู้ดูแลผู้สูงอายุหรือผู้บริบาลผู้สูงอายุ ให้เกียรติในทุกมิติของชีวิตผู้สูงอายุ ทั้งร่างกาย จิตใจ และวัฒนธรรม

5.หลักการเคารพความเป็นอิสระ:

เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมในการดำรงความเป็นอยู่ หรือการตัดสินใจเกี่ยวกับชีวิตของตนเอง

6.หลักการดูแลแบบองค์รวม:

ผู้ดูแลผู้สูงอายุหรือผู้บริบาลผู้สูงอายุ ให้การดูแลผู้สูงอายุ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณของผู้สูงอายุ

7.หลักการไม่เลือกปฏิบัติ เสมอภาค:

ผู้ดูแลผู้สูงอายุหรือผู้บริบาลผู้สูงอายุ ให้การดูแลผู้สูงอายุทุกคน ด้วยมาตรฐานเดียวกัน ไม่ว่าจะมีสถานะหรือภูมิหลังอย่างไร

8.หลักการประสานงานกับครอบครัวและทีมดูแล:

เพื่อให้การดูแลมีความต่อเนื่องและครอบคลุม ผู้ดูแลผู้สูงอายุหรือผู้บริบาลผู้สูงอายุ ต้องเปิดโอกาสให้ลูกหลานหรือญาติหรือผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการดูแล

การนำหลักจรรยาบรรณมาปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวันในสถานการณ์จริง ตัวอย่างเช่น

  • หากผู้สูงอายุมีภาวะสมองเสื่อมและพูดซ้ำ ๆ นักบริบาลผู้สูงอายุ ควรรับฟังด้วยความอดทน ไม่แสดงอาการเบื่อหน่าย
  • เมื่อต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมหรือดูแลกิจวัตรส่วนตัว ผู้ดูแลผู้สูงอายุต้องทำด้วยความสุภาพ และไม่ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกอับอาย หรือ ได้รับการกระทบกระทั่งจนได้รับบาดเจ็บ
  • หากผู้สูงอายุต้องการเล่าประสบการณ์ในอดีต นักบริบาลผู้สูงอายุควรให้เวลา รับฟัง และแสดงความสนใจอย่างจริงใจ

 

 แจกฟรี! อี-โปสเตอร์ ไว้เช็คอาการ ผู้สูงอายุ ที่บ้าน

15-สัญญาณอันตราย-ของสุขภาพผู้สูงอายุ-ที่ไม่ควรมองข้าม-โดย ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย

ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ยังไง ให้ปลอดภัย อุ่นใจ เหมือนมีหมออยู่ข้างตัว:


🏡 ปรับบ้านให้ปลอดภัย – พื้นไม่ลื่น มีราวจับ
🕒 มีตารางกินยา/พบหมอ – ไม่ลืม ไม่ผิดเวลา
🥦 วางแผนโภชนาการ – อาหารครบ 5 หมู่
🏃‍♂️ กระตุ้นให้เคลื่อนไหว – ป้องกันกล้ามเนื้อลีบ
👩‍⚕️ หาผู้ช่วยหรือศูนย์ดูแล – เมื่อต้องการดูแลเฉพาะทาง

การปฏิบัติต่อผู้สูงอายุ ต้องทำด้วยความเมตตาและความเคารพเสมอภาค เป็นแนวคิดหลักของจรรยาบรรณวิชาชีพบริบาลและจรรยาบรรณการดูแลผู้สูงอายุ

ในการปฏิบัติงานของนักบริบาลผู้สูงอายุ หรือ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ต้องการผู้ที่มีจิตใจเมตตาและให้เกียรติผู้สูงอายุเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ของ จรรยาบรรณวิชาชีพบริบาล และ จรรยาบรรณการดูแลผู้สูงอายุ ตามแนวคิดที่เป็นสากลคือการให้ผู้สูงอายุทุกคน เป็นผู้สมควรได้รับการดูแลด้วยศักดิ์ศรีและความเคารพในฐานะมนุษย์อย่างเท่าเทียมกับคนที่อายุน้อยกว่า หรือผู้ที่มีสุขภาพที่ดีกว่า ซึ่งแนวทางการปฏิบัติของผู้ดูแลผู้สูงอายุ จะนำไปใช้ในการเขียนในคู่มือปฏิบัติงานของนักบริบาลผู้สูงอายุ โดยมีการอ้างอิงจาก จรรยาบรรณวิชาชีพบริบาล ที่เป็นสากล ได้ดังต่อไปนี้

1.พฤติกรรมการบริการที่ดีเลิศ

ผู้ดูแลผู้สูงอายุพึงปฏิบัติงานด้วยความตั้งใจจริงและจิตใจที่มุ่งเน้นการให้บริการที่ดีเลิศในทุกขั้นตอน โดยยึดหลักความสุภาพ อ่อนน้อม และเป็นมิตร เช่น การยิ้มแย้มแจ่มใส การแสดงความเคารพด้วยการไหว้อย่างเหมาะสม การสื่อสารด้วยถ้อยคำที่สุภาพ และการพูดคุยอย่างให้เกียรติผู้สูงอายุเสมอ ทั้งนี้ เพื่อสร้างความไว้วางใจ ความอบอุ่นใจ และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง

2. บุคลิกภาพ

ผู้ดูแลผู้สูงอายุควรแต่งกายอย่างเหมาะสมตามกาลเทศะและบริบทของการทำงาน โดยควรสวมชุดที่สุภาพและเอื้อต่อการปฏิบัติงาน เช่น ชุดสครับ รวบผมเรียบร้อยโดยใช้ผ้าคลุมผม สวมกางเกงที่เคลื่อนไหวสะดวก และรองเท้าที่ปลอดภัย เหมาะสมต่อการเคลื่อนไหวและการดูแลผู้สูงอายุ

3. การมีวินัยในเรื่องเวลา

ผู้ดูแลควรตรงต่อเวลาและมีความรับผิดชอบในหน้าที่ โดยควรมาถึงสถานที่ให้บริการล่วงหน้าอย่างน้อย 15 นาที เพื่อเตรียมความพร้อมและรับข้อมูลการปฏิบัติงานจากผู้ดูแลก่อนหน้า หากมีเหตุจำเป็นที่ทำให้มาช้าหรือไม่สามารถเข้าปฏิบัติงานได้ ควรแจ้งผู้จัดการดูแลหรือผู้รับผิดชอบทันที

4. ความซื่อสัตย์สุจริต

ผู้ดูแลต้องปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่กระทำการใด ๆ ที่เป็นการละเมิดสิทธิหรือทรัพย์สินของผู้สูงอายุ เช่น การลักทรัพย์ การนำสิ่งของส่วนตัวของผู้รับบริการมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือการบริโภคอาหารและของว่างที่ไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อจรรยาบรรณอย่างชัดเจน

5.การไม่รบกวนผู้สูงอายุ

ผู้ดูแลต้องไม่นำสิ่งที่ก่อให้เกิดความรบกวนมาใช้ในระหว่างปฏิบัติงาน โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ผู้สูงอายุต้องการการพักผ่อน เช่น ไม่เปิดโทรทัศน์หรืออุปกรณ์เสียงดัง ไม่ใช้โทรศัพท์มือถือโดยไม่จำเป็น ไม่ใช้แสงสว่างหรือปรับอุณหภูมิห้องในลักษณะที่รบกวนผู้สูงอายุ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลในสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบ ปลอดภัย และเหมาะสม

6.การปฏิบัติตามแผนการดูแล

ผู้ดูแลผู้สูงอายุพึงปฏิบัติงานตามแผนการดูแลลูกค้าอย่างเคร่งครัดทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นแผนการดูแล แผนการรักษา หรือการตรวจเช็คสุขภาพเบื้องต้น ทั้งนี้เพื่อให้การดูแลเป็นไปอย่างเป็นระบบ มีความต่อเนื่อง และเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ

7. การรักษาสภาพแวดล้อม

ผู้ดูแลต้องรักษาสภาพแวดล้อมภายในบ้านหรือบริเวณที่ผู้สูงอายุพักอาศัยให้สะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการเกิดโรคจากสิ่งสกปรก กลิ่นไม่พึงประสงค์ หรือความชื้นแฉะที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ

8. การรักษาความลับขององค์กร

ผู้ดูแลต้องไม่นำข้อมูลภายในขององค์กร เช่น นโยบาย ขั้นตอนการทำงาน หรือแนวทางการบริหารจัดการ ไปเปิดเผยต่อบุคคลภายนอกหรือผู้รับบริการ โดยเด็ดขาด เพื่อรักษาภาพลักษณ์ ความน่าเชื่อถือ และความปลอดภัยขององค์กร

9.ความปลอดภัยในการดูแลผู้สูงอายุ

ผู้ดูแลต้องไม่ปล่อยให้ผู้สูงอายุอยู่ตามลำพังโดยไม่มีการดูแล เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายหรือเหตุฉุกเฉินได้ หากมีการเปลี่ยนเวร หรือไม่สามารถเข้าปฏิบัติงานได้ตามเวลา ต้องรีบแจ้งผู้จัดการดูแลทันที เพื่อไม่ให้เกิดช่วงเวลาที่ไม่มีผู้ดูแล

10. การให้เกียรติผู้สูงอายุ

ผู้ดูแลควรใช้สรรพนามหรือเรียกชื่อผู้สูงอายุอย่างเหมาะสม โดยให้ความสำคัญกับความพึงพอใจของผู้สูงอายุและครอบครัว การเรียกชื่อหรือสรรพนามที่สุภาพและตรงตามความประสงค์ของลูกค้า ถือเป็นการแสดงความเคารพและให้เกียรติที่สำคัญในการสื่อสาร

11.การเคารพสิทธิส่วนบุคคลของผู้สูงอายุ

ผู้ดูแลต้องเคารพความเป็นส่วนตัวของผู้สูงอายุ ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ข้อมูลสุขภาพ หรือรายละเอียดในครอบครัว ทั้งนี้รวมถึงการไม่พูดนินทา วิพากษ์วิจารณ์ หรือเล่าเรื่องราวของผู้สูงอายุให้บุคคลอื่นฟัง

12.การวางตนอย่างเหมาะสม

ผู้ดูแลควรวางตัวในลักษณะที่เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่ มีความเป็นมืออาชีพ และรักษาระยะห่างอย่างเหมาะสมกับบุคคลในบ้านของลูกค้า ไม่สนิทสนมจนเกินควรกับสมาชิกในบ้าน แม่บ้าน ยาม หรือผู้ดูแลรายอื่น ๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดหรือความไม่เหมาะสมในการทำงาน

13. การวางตัวอย่างปราศจากอคติ

ผู้ดูแลผู้สูงอายุต้องสามารถแยกแยะความคิดเห็นส่วนตัวออกจากการทำงาน และเคารพความเชื่อส่วนบุคคลของผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อทางศาสนา การเมือง หรือเรื่องส่วนตัวอื่น ๆ โดยต้องวางตนอย่างเป็นกลาง ไม่แสดงอคติหรือความคิดเห็นส่วนตัวที่อาจส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้สูงอายุหรือบรรยากาศในการดูแล

14. การจัดการเหตุฉุกเฉินอย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้ดูแลควรมีความสามารถในการจัดการกับเหตุฉุกเฉินอย่างเหมาะสมและรวดเร็ว เช่น การติดต่อสายด่วน 191 หรือ 1669 หรือประสานงานกับหน่วยบริการทางการแพทย์อย่างทันท่วงที จากนั้นแจ้งเหตุการณ์ต่อผู้จัดการดูแลหรือญาติผู้สูงอายุอย่างครบถ้วน

15. ความเหมาะสมในการทำธุรกรรมทางการเงิน

ผู้ดูแลต้องไม่กระทำธุรกรรมทางการเงินใด ๆ กับลูกค้าที่ไม่เหมาะสม เช่น การขอยืมเงิน หรือการรับเงินโดยไม่มีเหตุผลที่ชัดเจน เพื่อป้องกันความขัดแย้ง ความเข้าใจผิด และเพื่อรักษาความน่าเชื่อถือในวิชาชีพ

16. การรักษาความสัมพันธ์อย่างเหมาะสม

แม้การมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ดูแลและลูกค้าจะส่งผลดีต่อการดูแล แต่ต้องอยู่ในขอบเขตของความเหมาะสม ไม่แสดงความสนิทสนมเกินควร ซึ่งอาจทำให้เกิดความคาดหวังหรือความไม่พอใจในภายหลัง

17. การมีสติและสัมปชัญญะที่ดีในการทำงาน

ผู้ดูแลต้องงดเว้นจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการใช้สารเสพติดทุกประเภท ในเวลาทำ งาน หรือการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นอกเวลาทำงาน ต้องไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงาน ถ้าอยู่ในสภาพไม่พร้อมในการทำงาน ต้องแจ้งหัวหน้างานทันที เพื่อหยุดการปฏิบัติหน้าที่ในวันนั้นทันที เพื่อความมั่นใจให้ลูกค้า ว่าผู้ดูแลผู้สูงอายุ จะสามารถดูแลผู้สูงอายุ ได้เป็นอย่างดี และ พร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ตลอดเวลา

18. การหลีกเลี่ยงอบายมุข

ผู้ดูแลต้องไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการพนันทุกรูปแบบ ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพการทำงาน ความน่าเชื่อถือ และความกังวลของผู้รับบริการหรือครอบครัวของผู้สูงอายุ

19. การสรุปรายงานและส่งต่อเวรอย่างชัดเจน

การดูแลผู้สูงอายุโดยมีผู้ดูแลมากกว่า 1 คน จำเป็นต้องมีการสรุปรายงานการปฏิบัติงานทุกครั้งที่เปลี่ยนเวร ไม่ว่าจะเป็นการวัดสัญญาณชีพ อาการผิดปกติ หรือเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ดูแลในเวรถัดไปได้รับข้อมูลอย่างครบถ้วน และสามารถดำเนินการดูแลต่อได้อย่างราบรื่น

20. การใช้อุปกรณ์สื่อสารขณะปฏิบัติงาน

เพื่อให้การดูแลผู้สูงอายุเป็นไปอย่างปลอดภัยและมีสมาธิ ผู้ดูแลไม่ควรใช้โทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์สื่อสารอื่น ๆ ระหว่างปฏิบัติงาน เว้นแต่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งต้องแจ้งหัวหน้างานหรือขออนุญาตเป็นกรณีไป การหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์ขณะปฏิบัติงานจะช่วยลดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุ และเพิ่มความใส่ใจต่อผู้สูงอายุได้อย่างเต็มที่

จรรยาบรรณวิชาชีพบริบาล” และ “จรรยาบรรณการดูแลผู้สูงอายุ” ไม่ใช่เพียงแค่แนวทางที่บันทึกไว้ในเอกสาร แต่เป็นหลักคิดและหลักปฏิบัติที่ควรฝังแน่นอยู่ในจิตสำนึกของผู้ปฏิบัติงานทุกคน

เพราะการดูแลผู้สูงอายุไม่ได้หมายถึงเพียงการทำหน้าที่ให้เสร็จสิ้นในแต่ละวันเท่านั้น แต่เป็นการให้บริการที่เต็มไปด้วยความเข้าใจ ความเคารพ และความเอาใจใส่ในรายละเอียดของชีวิตของผู้สูงอายุในทุก ๆ วัน

การปฏิบัติต่อลูกค้าด้วยความเมตตาและให้เกียรติ คือรากฐานสำคัญของ ความไว้วางใจ ความปลอดภัย และคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ การยึดมั่นในจรรยาบรรณนี้

จึงไม่เพียงแต่เป็นการยกระดับคุณภาพของการบริการเท่านั้น แต่ยังเป็นการยกระดับคุณค่าของตัวผู้ดูแลเองในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลชีวิตและจิตใจของผู้อื่น

เมื่อเราทุกคนยืนหยัดในหลักจรรยาบรรณนี้อย่างต่อเนื่องและจริงใจ จะส่งผลให้วิชาชีพบริบาลผู้สูงอายุในประเทศไทยเติบโตอย่างมั่นคง เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และสามารถเปรียบเทียบมาตรฐานได้กับอารยะประเทศอย่างแท้จริง

บทความ ดูแลผู้สูงอายุ น่าอ่าน

150 คำพูด ให้กำลังใจ ผู้สูงวัย ให้ใจฟู

150 คำพูด ให้กำลังใจ ผู้สูงวัย ให้ใจฟู

คำพูด ให้กำลังใจ ผู้สูงวัย ให้ใจฟู เป็น การใช้ถ้อยคำที่เปี่ยมด้วยความรัก ความห่วงใย และความเข้าใจ เพื่อสร้างพลังใจให้กับผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นช่วงที่รู้สึกเหนื่อยล้า เศร้า หรือเวลาที่ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและจิตใจ...

วันที่เหนื่อยใจ กับ ใจที่ยังสู้ : 15 วิธีดูแลใจ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ

วันที่เหนื่อยใจ กับ ใจที่ยังสู้ : 15 วิธีดูแลใจ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ

วันที่เหนื่อยใจ กับ ใจที่ยังสู้ : 15 วิธีดูแลใจ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ เป็น วิธีการบริหารจิตใจ ของ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ให้พร้อมทั้งจิตใจและร่างกาย เพื่อความมั่นใจในการ ดูแล ที่สร้างความพอใจให้กับผู้สูงอายุ ในทุกช่วงเวลาของการดูแลวันที่เหนื่อยใจ กับ ใจที่ยังสู้ : 15...

15 สัญญาณอันตราย ของสุขภาพผู้สูงอายุ ที่ไม่ควรมองข้าม

15 สัญญาณอันตราย ของสุขภาพผู้สูงอายุ ที่ไม่ควรมองข้าม

15 สัญญาณอันตราย ของสุขภาพผู้สูงอายุ ที่ไม่ควรมองข้าม เป็น การสังเกต ผู้สูงอายุ ที่มีการเปลี่ยนแปลง ทางร่างกายและจิตใจ เพื่อป้องกันเหตุร้ายไว้ก่อน เป็นวิธีที่ ทำให้ ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน (Caregiver) และ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ นำมาใช้15 สัญญาณอันตราย ของสุขภาพผู้สูงอายุ...

5 ขั้นตอน ในการ ดูแลผู้สูงอายุ ที่บ้าน อย่างมืออาชีพ

5 ขั้นตอน ในการ ดูแลผู้สูงอายุ ที่บ้าน อย่างมืออาชีพ

5 ขั้นตอน ในการ ดูแลผู้สูงอายุ ที่บ้าน อย่างมืออาชีพ เป็น การเรียนรู้ 5 ขั้นตอนสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านอย่างมืออาชีพ พร้อมคำแนะนำสำหรับผู้ที่กำลังมองหาบริการรับดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน เพื่อความสุขและคุณภาพชีวิตของคนที่คุณรัก5 ขั้นตอน ในการ ดูแลผู้สูงอายุ ที่บ้าน...

Loading