วันที่เหนื่อยใจ กับ ใจที่ยังสู้ : 15 วิธีดูแลใจ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ เป็น วิธีการบริหารจิตใจ ของ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ให้พร้อมทั้งจิตใจและร่างกาย เพื่อความมั่นใจในการ ดูแล ที่สร้างความพอใจให้กับผู้สูงอายุ ในทุกช่วงเวลาของการดูแล

วันที่เหนื่อยใจ กับ ใจที่ยังสู้ : 15 วิธีดูแลใจ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ

ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน หรือ ส่งต่อให้ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุใกล้บ้าน…

เมื่อวันยากที่สุดมาถึง เราจะรับมืออย่างไร?

เขียนโดย ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย

การดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน คือความตั้งใจของใครหลายคนที่อยากอยู่เคียงข้างพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ในช่วงปลายชีวิต แต่ความตั้งใจที่สวยงามนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นเรื่องง่ายเสมอไป โดยเฉพาะเมื่อเผชิญกับ “วันที่ยากที่สุด” — วันที่อ่อนล้า เหนื่อยใจ และรู้สึกหมดแรงทั้งกายและใจ ต้องสังเกตสัญญาณ อาการผู้ดูแลผู้สูงอายุ

ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน อาจเป็นงานที่เต็มไปด้วยความรัก แต่ก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า มันคือภารกิจที่เหนื่อยล้าโดยเฉพาะในวันที่ทุกอย่างดูหนักไปหมด ไม่ว่าจะเป็นการรับมือกับอารมณ์ของผู้สูงวัย ภาระงานบ้าน เอกสารที่เกี่ยวข้อง หรือแม้แต่ความรู้สึกท้อในใจของคุณเอง

ไม่ว่าจะเป็นผู้ดูแลโดยตรง หรือเป็นคนในครอบครัวที่มีบทบาทในการดูแล การรู้เท่าทันอารมณ์และเข้าใจวิธีรับมืออย่างเหมาะสม จะช่วยให้คุณไม่รู้สึกโดดเดี่ยว และยังสามารถดูแลผู้สูงวัยได้อย่างมีคุณภาพต่อไป

หากคุณกำลังลังเลระหว่างการ ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน หรือมองหาทางเลือกเสริมอย่าง ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ใกล้บ้าน เพื่อแบ่งเบาภาระในวันที่หนักหนา บทความนี้อาจช่วยให้คุณเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น และตัดสินใจได้ด้วยหัวใจที่มั่นคงกว่าเดิม

เราขอแชร์ 15 วิธีที่ ผู้ดูแลสามารถใช้รับมือกับวันที่ยากที่สุดในชีวิตเทคนิคเล็ก ๆ ที่อาจกลายเป็นพลังใจครั้งใหญ่ ให้คุณยังคงเดินต่อบนเส้นทางของการดูแลอย่างเข้าใจ และพร้อมเป็นเพื่อนร่วมทาง ให้คุณก้าวผ่านวันที่ยากที่สุดด้วย

💙 เพราะคุณไม่ใช่แค่ “ผู้ดูแล”

แต่คือ “ฮีโร่” ของบ้านนี้ 💙

15-สัญญาณอันตราย-ของสุขภาพผู้สูงอายุ-ที่ไม่ควรมองข้าม-โดย ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย

เพราะคุณไม่ใช่แค่ “ผู้ดูแล”

แต่คือ “ฮีโร่” ของบ้านนี้

💙 ในทุกวันที่คุณตื่นเช้าเพื่อดูแลผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะป้อนข้าว อาบน้ำ พาไปโรงพยาบาล หรือแค่จับมือให้กำลังใจ… สิ่งเหล่านี้คือความรักที่ยิ่งใหญ่กว่า คำว่า “หน้าที่” คุณอาจไม่ใส่ผ้าคลุมเหมือนในหนังซูเปอร์ฮีโร่ แต่หัวใจของคุณแข็งแกร่งไม่แพ้ใคร

การเสียสละเวลา ความสบาย และแรงกายทั้งหมด เพื่อให้คนที่คุณรักยังคงมีคุณภาพชีวิตดี นั่นแหละคือสิ่งที่ “ฮีโร่” ทำ

หากวันไหนคุณรู้สึกเหนื่อย อย่าลืมบอกตัวเองว่า… “ฉันกำลังทำสิ่งที่มีค่าที่สุดอยู่”

คุณคือพลังสำคัญที่ทำให้บ้านยังอบอุ่น และชีวิตของผู้สูงวัยยังมีรอยยิ้มเสมอ 💙

www.ElderlyCarePlus.com

 

15 วิธีที่ช่วยเยียวยาหัวใจ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ

ทำให้คุณมองเห็นความหมายในสิ่งที่คุณทำอยู่ โดยเนื้อหานี้เหมาะกับทั้งผู้ที่ ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน และผู้ที่กำลังพิจารณาเลือกใช้บริการจาก ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ใกล้บ้าน

1.ควบคุมความโกรธ เมื่อผู้สูงอายุ ทำเรื่องเสียหาย

การเตือนสติตนเอง เพื่อทำความเข้าใจถึงความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากผู้สูงอายุ เป็นผลจากร่างกายที่เสื่อมถอย เช่นกล้ามเนื้อ สมอง การเกิดความผิดพลาดเล็กน้อยจากผู้สูงอายุ เช่น ทำของหล่นหรือพูดไม่เข้าหู บ่น อาจทำให้ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ เกิดความรู้สึกโกรธได้ง่าย จึงอยากให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ลองตั้งสติ หายใจลึก ๆ แล้วบอกตัวเองว่า สิ่งเหล่านี้เป็นผลจากวัยที่เสื่อมถอยของผู้สูงอายุ ไม่ใช่เจตนาทำให้เกิดเรื่องเสียหาย

2.ปล่อยให้ความเครียดจากงานเอกสารไหลผ่านไป

การดูแลผู้สูงอายุ หนีไม่พ้นเรื่องงานเอกสาร ที่เกี่ยวพันธ์ เช่น เอกสารการรักษาจากโรงพยาบาล บัตรผู้ป่วย สิทธิ์รักษาพยาบาลของผู้สูงอายุ หรือเอกสารเรื่องสุขภาพ การประกัน หรือ เอกสารการเงิน เอกสารธนาคาร ไหนจะต้องมีตารางการดูแลประจำวัน เช่น ตารางการทานยา การไปตามเวลาที่หมอนัด สิ่งเหล่านี้ อาจสร้างความเครียดโดยไม่รู้ตัว ให้กับผู้ดูแลผู้สูงอายุ วิธีที่ดีที่สุด ลองแบ่งเวลาเป็นช่วง ๆ และขอคำแนะนำจากผู้มีประสบการณ์ หรือเจ้าหน้าที่ใน ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ

ให้นำวิธีนี้มาลองทำดู คือให้คิดว่าในวันที่เหนื่อยที่สุด ให้ทำแค่เรื่องสำคัญมาจัดการก่อน เช่น การกินยา อาบน้ำ หรือให้อาหาร แล้วพักเรื่องอื่นไว้ก่อน อย่าพยายามทำทุกอย่างในวันเดียว แบ่งเวลาให้ถูกต้อง

3.เตือนตัวเองว่าทำไม คุณถึงสำคัญ

ภาระกิจการดูแลผู้สูงอายุ เป็นเรื่องยากลำบาก แต่ขอให้เข้าใจว่า คุณคือคนสำคัญที่สุดในการดูแล ไม่ว่าคนอื่นจะเห็นหรือไม่เห็น ก็ตาม แต่การที่คุณเลือกเป็น ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ด้วยความรัก คือ สิ่งที่มีคุณค่ามหาศาล ไม่มีอะไรมาทดแทนพลังอันยิ่งใหญ่จากสิ่งที่คุณกำลังทำได้

 4.รำลึกถึงความปรารถนาแรงกล้าในอดีต

ลองหวนคิดถึงตอนเด็ก ๆ ที่หลายคนมักจะพูดกับพ่อแม่ว่า “เมื่อหนู โตขึ้น หนูจะเป็นคนที่ดูแล พ่อกับแม่เองคำพูดเช่นนี้ คุณรู้หรือไม่ ว่าเป็นคำพูดที่ทำให้พ่อแม่มีกำลังใจที่มากมายในการทำงาน

ทดลองทำสิ่งนี้ดู คือ การกลับไปทบทวนว่า…ทำไมคุณถึงเริ่มต้นดูแล อาจเป็นคำสัญญา ความผูกพัน หรือความรักไม่สิ้นสุด แรงบันดาลใจเหล่านี้จะช่วยพยุงใจคุณในวันที่ยากที่สุด

อย่าลืมนะครับ แม้จะเหนื่อยแค่ไหน แต่การได้ดูแลคนที่เรารักในช่วงสุดท้ายของชีวิต เป็นเรื่องที่มีคุณค่าเสมอ ลองทบทวนว่าทำไมคุณถึงเลือก ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน แล้วคุณจะเห็นความหมายของความเหนื่อยนี้มากขึ้น

5.หาคนที่ไว้ใจ เพื่อใช้เวลาระบาย

การมีใครสักคนให้ระบาย ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ญาติ หรือกลุ่มผู้ดูแลที่ประสบเหตุการณ์คล้ายกัน หรือครอบครัวที่เข้าใจ ทำให้คุณสามารถพูดคุยเรื่องหนักใจ จะช่วยให้ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว อย่าปล่อยให้ตัวเองเผชิญทุกอย่างคนเดียว เพราะอาจเป็นต้นเหตุ ให้เข้าสู่ภาวะเครียด หรือ โรคซึมเศร้า ลองเข้าร่วมกลุ่มออนไลน์ของผู้ดูแล หรือขอคำปรึกษาจาก ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ใกล้บ้าน ที่มีบริการแนะนำแนวทางดูแล

กระทู้ ถาม-ตอบเรื่องการดูแลผู้สูงอายุ – สมัครฟรี!

พื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับ การดูแลผู้สูงอายุ ทั้งในด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต พัฒนาการด้านต่างๆ การดูแลผู้ป่วยพักฟื้นที่บ้าน การดูแล ผู้สูงอายุ หรือ ผู้ป่วยพักฟื้น โดย ทุกท่าน สามารถ ลงทะเบียน เป็นสมาชิกฟรี..

ห้องสุขใจ

 การดูแล ให้ ผู้สูงอายุ แข็งแรงเสมอ เคล็ดลับ ที่ใช้

ห้องมือใหม่

สำหรับ  มือใหม่ ที่ ดูแล ผู้สูงอายุ ว่าต้องทำอะไรก่อน

ห้องอิ่มใจ

ห้อง แชร์เมนูมีประโยชน์ เพื่อดูแลผู้สูงอายุ

ห้องของใช้

แชร์ ความรู้ อุปกรณ์ต่าง ๆ ในการ ดูแลผู้สูงอายุ

ห้องถามผู้รู้

ถาม ผู้เชี่ยวชาญ หรือ ผู้มีประสบการณ์โดยตรง

6.ทราบถึงความปรารถนาของผู้สูงอายุที่บ้าน

การพูดคุยและเข้าใจความต้องการของผู้สูงวัยจะช่วยให้คุณลดแรงปะทะ และดูแลได้อย่างสบายใจขึ้น เรื่องยากที่สุดของการดูแลผู้สูงอายุ คือการเดาใจ ว่าผู้สูงอายุต้องการอะไร เช่น ผู้สูงอายุที่บ้านอาจแค่อยากมีอิสระ หรือไม่อยากเป็นภาระใคร ต้องการไปพักผ่อนบ้าง การจดบันทึกจะช่วยทำให้ผู้ดูแล ไม่ลืม และมีความคุ้นเคยต่อหน้าที่ ที่ต้องตอบสนองต่อความต้องการของผู้สูงอายุที่บ้านในเรื่องต่าง ๆ  ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบความเป็นอยู่ เรื่องโภชนาการ และอื่น ๆ

7. เข้าหา คนคิดบวก เพื่อรับพลังบวก

ความคิดบวก เป็นพลังงานที่บริสุทธ์ ที่จะช่วยให้ทุกคนมีกำลังใจ ทำงานไม่เหนื่อยล้า คนคิดบวก จึงเป็นคำสำคัญ คือเป็นแหล่งพลังงานที่ดีที่สุด ให้ทุกคนที่เข้าใกล้ มีกำลังใจ ทำงานไม่เหนื่อยล้า เช่น ลองสังเกตดูว่า วันที่คุณรู้สึกยากลำบากเป็นพิเศษ แต่สถานการณ์อาจดีขึ้น เพราะพลังบวกที่ได้รับอิทธิพลจากเพื่อนที่คบหา ผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำเป็นต้องหาเวลา ไปพบเจอเพื่อนดี ๆ หรืออ่านบทความให้กำลังใจ เพื่อเติมแรงให้ตัวเองเดินต่อไปได้

 8. ระบายภาระงาน ด้วยการเขียนบันทึกประจำวัน

เป็นเรื่องจริงที่ว่า ผู้ดูแลผู้สูงอายุทุกคนตกอยู่ในความเครียด ความอึดอัด และการระบายความเครียดมีหลายวิธี ที่หลายคนนำมาใช้เพื่อลดความเครียดของตนเอง ให้เข้าสู่สภาวะปกติให้มากที่สุด การเขียนเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยให้ความเครียด “ไหลออกจากหัวใจ” ลองเขียนทุกสิ่งที่คุณพบในแต่ละวัน ลงในสมุด ไม่ต้องเพอร์เฟ็กต์ แค่ให้มันออกจากใจ เขียน ๆ ลงไป แบบไม่ต้องมีรูปแบบที่ตายตัว ไม่ต้องคำนึงถึงความสวยงาม เขียนเข้าไปให้ได้มากที่สุด เขียนแบบไม่มีข้อแม้ อยากเขียนอะไร ก็เขียน จะช่วยให้ความเครียดในตัวเองลดลง

9.สร้างรายการความสำเร็จ ในการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ทุกวัน

ทุกคนต้องการความสำเร็จ ไม่ว่าความสำเร็จจะเป็นเรื่องเล็กหรือใหญ่ ลองจินตนการดูว่า ตอนที่คุณมีลูก และ ต้องการให้ลูกกินผักได้ และเมื่อคุณทำได้สำเร็จ จะมีความสุขแค่ไหน ในการดูแลผู้สูงอายุก็เช่นกัน ไม่ว่าจะทำเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่สำเร็จ คุณจะมีความสุขแค่ไหน เมื่อเห็นว่าผู้สูงอายุทำได้อย่างที่คุณต้องการ

สิ่งที่ผู้ดูแลผู้สูงอายุต้องทำ คือการสร้างรายการความสำเร็จในการดูแล แล้วเขียนลงไป เช่น “วันนี้แม่ยิ้มให้” หรือ “จัดยาได้ครบทุกมื้อ” สิ่งเหล่านี้คือความสำเร็จที่ควรภาคภูมิใจ

รายการความสำเร็จนี้ควรกล่าวถึงสิ่งต่างๆ ทั้งหมดที่คุณจัดการได้ในฐานะเป็น ผู้ดูแลผู้สูงอายุ รายการความสำเร็จควรทำในทุกเรื่อง แม้แต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ เช่น การซื้อของชำหรือการไปพบแพทย์ หากผู้ดูแล มีการทำรายการได้อย่างถูกต้อง จำนวนความสำเร็จที่น่าประทับใจมากมายในรายการความสำเร็จนี้และจะทำให้คุณตะลึงกับสิ่งที่คุณทำสำเร็จได้ภายใต้สถานการณ์ที่ยากลำบาก กลายเป็นเรื่องน่าภาคภูมิใจทันที

10.เลิกคิดว่าทุกอย่างต้องสมบูรณ์แบบ

การดูแลผู้สูงอายุ ความสมบูรณ์แบบเป็นเรื่องสำคัญ เช่น การทานยา การไปตามกำหนดวันนัดของแพทย์ แต่ในหลาย ๆ เรื่องที่ไม่ต้องสมบูรณ์แบบก็ได้ ความสมบูรณ์แบบที่มากเกินไป จะเป็นกับดักสำคัญ เช่น พ่อแม่ฉันจะเป็นอะไรไม่ได้ พ่อแม่ฉันต้องมีความสุขตลอดเวลา

ทำให้คำว่าสมบูรณ์แบบมาทำร้ายความรู้สึกของ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นลูกหลานคือ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ  เพราะจะ ทำให้ ผู้ดูแลไม่พอใจในตนเอง เช่น ทำนั่นก็ไม่ดี ทำนี่ก็ไม่ดี เป็นต้น

ในความเป็นจริงเรื่องการดูแลผู้สูงอายุ ขอให้เข้าใจว่าไม่มีใครดูแลได้ดี 100% ทุกวัน หยุดเปรียบเทียบกับใคร และให้อภัยตัวเองบ้างในวันที่ทำไม่ได้ตามแผน คิดเช่นนี้ ความเครียดในการดูแลจะลดลงทันทีมีกำลังใจ ทำให้ไปต่อได้

ในหัวข้อนี้ จึงให้ทุกคนพึงระวังในคำว่า “สมบูรณ์แบบ เพราะบ่อยครั้งที่ผู้ดูแลผู้สูงอายุ หมดกำลังใจ เพราะทำอะไรก็ไม่ดีสักอย่าง เนื่องจากคำว่า สมบูรณ์แบบ ซึ่งไม่มีอยู่จริง เพราะเป็นไปไม่ได้เลยที่ทุกคนจะทำงานได้สมบูรณ์แบบ  จึงต้องเปลี่ยนคำว่า “สมบูรณ์แบบ” ด้วยคำว่า “ยอมรับได้” เพราะ “ยอมรับได้คือ..สิ่งที่ดีที่สุด”

และสิ่งที่ควรทำต่อไปคือ การเตรียมการรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่สมบูรณ์แบบ เช่น ข้อบกพร่องต่างๆ ที่เกิดขึ้น แนวทางปฏิบัติที่มีข้อบกพร่อง การต้องติดต่อกับคนที่มีข้อบกพร่อง และสถานการณ์ที่ไม่มีคำตอบ เป็นต้น

 แจกฟรี! อี-โปสเตอร์ ไว้เช็คอาการ ผู้สูงอายุ ที่บ้าน

15-สัญญาณอันตราย-ของสุขภาพผู้สูงอายุ-ที่ไม่ควรมองข้าม-โดย ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย

ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ยังไง ให้ปลอดภัย อุ่นใจ เหมือนมีหมออยู่ข้างตัว:


🏡 ปรับบ้านให้ปลอดภัย – พื้นไม่ลื่น มีราวจับ
🕒 มีตารางกินยา/พบหมอ – ไม่ลืม ไม่ผิดเวลา
🥦 วางแผนโภชนาการ – อาหารครบ 5 หมู่
🏃‍♂️ กระตุ้นให้เคลื่อนไหว – ป้องกันกล้ามเนื้อลีบ
👩‍⚕️ หาผู้ช่วยหรือศูนย์ดูแล – เมื่อต้องการดูแลเฉพาะทาง

11.จัดเวลาส่วนตัว เพื่อผ่อนคลายให้ตนเอง

ความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุ คือ ศัตรูอันร้ายกาจที่ทำให้ภาระกิจการดูแลผู้สูงอายุไม่ประสบความสำเร็จ ในการ ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ต้องมีช่วงเวลาที่ทำให้ตนเองผ่อนคลาย เป็นเวลาของตัวเอง ได้ทำสิ่งที่รัก ฟังเพลง ดูหนัง หรือเพียงแค่ดื่มกาแฟเงียบ ๆ ก็เพียงพอแล้ว

วิธีการคือ การแบ่งเวลาพัก เพื่อการดูแลตนเองเป็นช่วงสั้นๆ ตลอดทั้งวัน นอกจากนี้ สิ่งสำคัญคือต้องผสมผสานเวลาพักเข้าด้วยกันแทนที่จะทำสิ่งเดียวกันตลอดเวลา อาจเดินไปที่ร้านค้าในละแวกบ้าน หาอะไรอร่อย ๆ ที่อยากทาน หรืออาจใช้เวลา 10 ถึง 15 นาที ในที่เงียบสงบเพื่ออ่านหนังสือที่ชอบสักบทหนึ่ง การจัดแวลาเพื่อทำให้รู้สึกว่าควบคุมชีวิตของตัวเองได้มากขึ้น ซึ่งเวลาพักเช่นนี้ก็เพื่อการดูแลตนเองให้กลับมาพร้อมในการดูแลผู้สูงอายุเช่นเคย “เป็นเคล็ดลับในการปรับอารมณ์ในเวลาสั้นๆ” ที่ได้ผลและมีประโยชน์มาก

12.หลีกเลี่ยงการต่อว่ากันในลูกหลานหรือเครือญาติ

คำ ต่อว่า เป็นคำที่ทำลายกำลังใจ ในการดูแลผู้สูงอายุ เพราะเป็นการยากที่จะทำให้ทุกฝ่ายรู้สึกดี ต่อผลลัพธ์ที่ได้ และเมื่อมีความผิดพลาดขึ้นมา ก็ไม่มีใครตัวใจจะให้เกิด การมีกำลังใจสนับสนุนซึ่งกันและกัน จะช่วยให้การดูแลผู้สูงอายุได้ดียิ่งขึ้น

บ่อยครั้งที่ความขัดแย้งภายในครอบครัว เป็นผลมาจากการตำหนิ ต่อว่า หรือคำพูดที่ว่า ติเพื่อก่อ ทั้ง ๆ ที่คนตำหนิ ไม่เคยลงมาดูแลผู้สูงอายุอย่างจริงจัง สิ่งที่พี่น้อวง ควรทำอย่างเร่งด่วน คือพยายามเปิดใจพูดคุยอย่างมีเหตุผล และเปลี่ยน “ข้อกล่าวหา” เป็น “การขอความร่วมมือ” ใครมีความพร้อมในเรื่องอะไร ก็ให้ทำในสิ่งที่ตนเองถนัด เพื่อช่วยเหลือกันในการดูแลผู้สูงอายุให้ราบรื่นทุกวัน

13. ใช้เทคโนโลยีช่วยผ่อนแรง

เคยไปสำรวจ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ และสอบถามจาอ ผู้มีอาชีพ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ที่มีประสบการณ์มานาน ต่างบอกเป็นเสียงเดียวว่า เป็นเรื่องน่ายินดีมากสำหรับการมี อุปกรณ์ที่เป็นเทคโนโลยีมาช่วยในการดูแล ซึ่งแตกต่างจากในอดีตที่ต้องทำทุกอย่างด้วยตนเอง ทำให้เหนื่อย ล้า และท้อแท แต่ในปัจจันมีอุปกรณ์หลายอย่างที่ช่วยลดภาระลง เช่น เตียงไฟฟ้า ปรับระดับด้วยไฟฟ้า เครื่องช่วยยกผู้สูงวัย หรือการใช้แอปแจ้งเตือนการกินยา สิ่งเหล่านี้ช่วยให้การดูแลง่ายขึ้น และลดความเครียดในระยะยาว

ความสำคัญคือการให้ผู้ดูแลเปิดใจ ทำความเข้าใจในการนำเทคโนโลยีช่วยผ่อนแรง มาใช้ดูแล ผู้สูงอายุ เพราะ เทคโนโลยีต่าง ๆ ในปัจจุบันออกแบบมาเพื่อให้เข้าถึงง่าย เข้าใจง่ายและใช้งานง่าย เช่นกัน และเมื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ ผลที่ดีมากมายจะตามมา เช่น การผ่อนแรง ลดความเครียด ชีวิตเป็นระเบียบมากขึ้นนั่นเอง

14. อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเอง

การดูแลคนที่ผู้สูงอายุมีความสำคัญ แต่การดูแลตัวเองก็สำคัญไม่แพ้กันเลย เพราะเมื่อไรก็ตาม ที่ผู้ดูแลล้มป่วยลง คนสูงอายุที่คุณรักก็จะไม่มีคนดูแลเช่นกัน จึงเป็นเรื่องสำคัญในการใส่ใจสุขภาพตัวเองให้มีความพร้อมตลอดเวลา หลายครั้งผู้ดูแลอยากให้งานออกมาดี จึงทุ่มเททุกอย่างจนลืมไปว่า “ร่างกายและใจของเราเองก็ต้องการการดูแลเหมือนกัน” การดูแลสุขภาพเป็นวิธีหนึ่งในการยืดอายุการดูแล และอยู่เคียงข้างกันไปได้นานที่สุด

การกินอาหารให้ครบ พักผ่อนให้พอ และออกกำลังกายเล็กน้อย เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้การดูแลคนอื่น

ลองเริ่มจากการดูแลสุขภาพพื้นฐานง่าย ๆ:

  • กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายมีพลัง ไม่เหนื่อยล้าจนเกินไป
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6–8 ชั่วโมง เพื่อให้สมองปลอดโปร่งและอารมณ์ไม่ขุ่นมัว
  • ขยับร่างกายเบา ๆ สักวันละ 15–20 นาที ไม่ว่าจะเป็นโยคะ เดินรอบบ้าน หรือยืดกล้ามเนื้อ ก็ช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น และลดความเครียดสะสม

15. ขอความช่วยเหลือโดยไม่ต้องรู้สึกผิด

อย่าปล่อยให้ตัวเองเหนื่อยจนหมดแรงเพียงเพราะคิดว่า “เราต้องดูแลผู้สูงอายุให้ได้ดีด้วยตัวเองเท่านั้น” ความจริงคือ การดูแลผู้สูงอายุ เป็นงานที่ใหญ่และซับซ้อนกว่าที่หลายคนคิด และคุณไม่จำเป็นต้องทำคนเดียวเสมอไป

การขอความช่วยเหลือไม่ใช่ความล้มเหลว แต่มันคือสัญญาณของความเข้มแข็ง ที่คุณรู้ว่าตอนไหนควร “พัก” และตอนไหนควร “ให้คนอื่นช่วยดูแลแทนชั่วคราว” เช่นการมีทีมงานจาก ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ เข้ามาช่วยเป็นบางช่วง หรือการจ้าง ผู้ช่วยพยาบาลดูแลผู้สูงอายุ ชั่วคราว ถือเป็นทางเลือกที่ดีเพื่อให้คุณมีพลังกลับมาใหม่

หากคุณรู้สึกเหนื่อยเกินไป ลองพิจารณาทางเลือกเหล่านี้:

  • ให้ญาติหรือเพื่อนบ้านมาช่วยดูแลเป็นบางเวลา
  • จ้างผู้ช่วยพยาบาลชั่วคราว จ้างผู้ดูแลผู้สูงอายุ Caregiver
  • ใช้บริการจาก ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ที่สามารถดูแลแทนในช่วงเวลาที่ไม่ว่าง

ในการดูแลผู้สูงอายุ ขอให้มีเวลาพักให้ตัวเอง จะทำให้ทุกคนกลับมาดูแลคนที่รักได้อย่างมีพลังมากขึ้น

เพราะ ผู้ดูแลที่มีความสุข จะส่งต่อพลังบวกให้ผู้สูงอายุได้ดีที่สุด เช่นกัน

หากคุณรู้สึกว่าการ ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน เริ่มหนักเกินไป อย่าลังเลที่จะขอความช่วยเหลือจากคนในครอบครัว หรือพิจารณาตัวเลือกเสริมอย่าง ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุใกล้บ้าน หรือ ให้ ผู้รับดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ที่มีความเชี่ยวชาญและเข้าใจความต้องการของทั้งผู้ดูแลและผู้สูงอายุอย่างแท้จริง

เป็นเรื่องที่ดี ถ้าจะมีการขอคำปรึกษาเพิ่มเติมเรื่องการดูแลผู้สูงอายุ จากผู้รู้ หรือ ผู้มีประสบการณ์ หรือ อาจจะกำลังตัดสินใจระหว่างการ ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน กับการส่งต่อให้ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ที่มีมาตรฐาน

บทความนี้หวังว่าจะเป็นแสงสว่างเล็ก ๆ ที่จุดประกายความหวังอีกครั้ง ในวันที่คุณรู้สึกมืดมน

ที่สำคัญ ขอให้เข้าใจว่า..ในวันที่ยากที่สุด…คุณไม่ได้อยู่คนเดียว และ วันที่ยากที่สุด…อาจเป็นวันที่คุณแข็งแกร่งที่สุด โดยที่คุณเองยังไม่รู้ตัว

+ เป็นกำลังใจให้ทุกคนนะครับ +

บทความ ดูแลผู้สูงอายุ น่าอ่าน

150 คำพูด ให้กำลังใจ ผู้สูงวัย ให้ใจฟู

150 คำพูด ให้กำลังใจ ผู้สูงวัย ให้ใจฟู

คำพูด ให้กำลังใจ ผู้สูงวัย ให้ใจฟู เป็น การใช้ถ้อยคำที่เปี่ยมด้วยความรัก ความห่วงใย และความเข้าใจ เพื่อสร้างพลังใจให้กับผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นช่วงที่รู้สึกเหนื่อยล้า เศร้า หรือเวลาที่ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและจิตใจ...

ดูแลด้วยใจ ไม่ใช่แค่หน้าที่: จรรยาบรรณ แห่งวิชาชีพ บริบาลผู้สูงวัย

ดูแลด้วยใจ ไม่ใช่แค่หน้าที่: จรรยาบรรณ แห่งวิชาชีพ บริบาลผู้สูงวัย

จรรยาบรรณ แห่งวิชาชีพ บริบาลผู้สูงวัย เป็น จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพบริบาลผู้สูงวัย ตามหลักจริยธรรมและแนวทางปฏิบัติที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการดูแลผู้สูงอายุควรยึดถือ เพื่อให้บริการอย่างมีคุณภาพและเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้สูงวัย...

15 สัญญาณอันตราย ของสุขภาพผู้สูงอายุ ที่ไม่ควรมองข้าม

15 สัญญาณอันตราย ของสุขภาพผู้สูงอายุ ที่ไม่ควรมองข้าม

15 สัญญาณอันตราย ของสุขภาพผู้สูงอายุ ที่ไม่ควรมองข้าม เป็น การสังเกต ผู้สูงอายุ ที่มีการเปลี่ยนแปลง ทางร่างกายและจิตใจ เพื่อป้องกันเหตุร้ายไว้ก่อน เป็นวิธีที่ ทำให้ ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน (Caregiver) และ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ นำมาใช้15 สัญญาณอันตราย ของสุขภาพผู้สูงอายุ...

5 ขั้นตอน ในการ ดูแลผู้สูงอายุ ที่บ้าน อย่างมืออาชีพ

5 ขั้นตอน ในการ ดูแลผู้สูงอายุ ที่บ้าน อย่างมืออาชีพ

5 ขั้นตอน ในการ ดูแลผู้สูงอายุ ที่บ้าน อย่างมืออาชีพ เป็น การเรียนรู้ 5 ขั้นตอนสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านอย่างมืออาชีพ พร้อมคำแนะนำสำหรับผู้ที่กำลังมองหาบริการรับดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน เพื่อความสุขและคุณภาพชีวิตของคนที่คุณรัก5 ขั้นตอน ในการ ดูแลผู้สูงอายุ ที่บ้าน...

Loading